nassocal.org

หมวดที่ 8 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

หมวดที่ 8 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

22 กุมภาพันธ์ 2567 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2567
ห้องสมุดสีเขียวจะต้องควบคุมมลพิษทางอากาศ มลพิษทางเสียง มีการจัดการสภาพแวดล้อมอย่าง เหมาะสม และพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน ดังนี้
        8.1. มีการควบคุมมลพิษทางอากาศในห้องสมุด มีการจัดการคุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี เพื่อการให้บริการ
        8.2. มีการบำรุงรักษา ระบบปรับอากาศ ระบบบำบัดน้ำเสีย และระบบหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง
        8.3. มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม
        8.4. มีการควบคุมความเข้มของแสงสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐาน
        8.5. มีการควบคุมมลพิษทางเสียงภายในห้องสมุด
        8.6. มีการวางแผนจัดการและบำรุงรักษาพื้นที่ของห้องสมุด และควบคุมสัตว์พาหะนำโรค
        8.7. มีการเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน โดยวางแผนฉุกเฉินที่เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน มีการ อบรมให้ความรู้ ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ให้เพียงพอและพร้อมใช้

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
8.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
        (1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ รถยนต์ ปั๊มดูดน้ำ ปั๊มดับเพลิง เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปู พื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามแผนการดูแลบำรุงรักษา
        (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดใน ข้อ 1
        (4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศและ ใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพจาก การปฏิบัติในข้อ 1
        (5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
        (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์ บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับ เครื่องยนต์
        (7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยา กำจัดแมลง (ถ้ามี)
        (8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการ เกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรม ต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อม และระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือ ภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)
   
8.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมี การกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสม และปฏิบัติตามที่กำหนด
        (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
        (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
        (3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
        (4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียงไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า – ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณ ที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มา ใช้สถานที่นั้น
        (5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอก เขตสูบบุหรี่
   
8.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศ จากการก่อสร้าง ปรับปรุง อาคารหรือ อื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ มลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1)
        แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
             - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
             - มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทาง อากาศที่จะส่งผลกระทบกับ พนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
             - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและ ระวังการได้รับอันตราย
   
8.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสง สว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความ เข้มของแสงสว่างที่ได้มาตรฐาน) และ ดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐาน กำหนด
        (1) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ประจำปี พร้อมแสดงหลักฐานผล การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง เฉพาะจุดทำงานแลพื้นที่ทำงาน
        (2) เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
        (3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตาม มาตรฐานกฎหมายกำหนด
        (4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
 
หมายเหตุ
         สำนักงานที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน แต่ไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับ วิชาชีพ (จป.ว.) เนื่องด้วยจำนวนลูกจ้างต่ำกว่า 100 คน สามารถขอให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับ วิชาชีพ (จป.ว.) ต้นสังกัดของสำนักงานนั้นๆ ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างได้ หากกฎกระทรวงกำหนด รายละเอียดของบุคคลที่จะขอขึ้นทะเบียนหรือนิติบุคคลที่จะขอรับใบอนุญาตตามมาตรา 9 หรือมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ประกาศขึ้น สำนักงานหรือผู้ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างจะต้องดำเนินการตามกฎหมายฉบับดังกล่าว ทันที่ที่มีผลบังคับใช้
 
คำอธิบาย
        1. กรณีสำนักงานอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงาน เช่น หน่วยงานเอกชน รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น จะต้องดำเนินการตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2561
        2. สำนักงานที่ไม่อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน เช่น หน่วยงานราชการ สถาบันศึกษา เป็นต้น ไม่ต้อง ปฏิบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการ วิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและ ประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2561
   
8.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียง ภายในอาคารสำนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ เสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
   
8.3.2 การจัดการเสียงดังจากการ ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ใน สำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
        (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ เสียงดังที่เกิดจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
        (2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1)
 
        แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
        - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
        - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและ ระวังการได้รับอันตราย
   
8.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่า อยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการ ดังนี้
        (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัว อาคารและนอกอาคาร โดยจะต้อง กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม และพื้นที่ทำงาน เป็น ต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรือ อื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
        (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะ และ พื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร 
        (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษา ความสะอาดและความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
        (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สี เขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตาม แผนงาน
   
8.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
 
หมายเหตุ หากสำนักงานมีพื้นที่จำกัด อาจมีการจัดเก็บของหรือใช้พื้นที่ร่วมกัน ดังนั้นหากไม่มีการแยกพื้นทีได้ อย่างชัดเจน สามารถแบ่งสัดส่วนการใช้งานและจัดเก็บของภายในพื้นที่นั้นได้ ทั้งนี้ผู้ตรวจประเมิน จะต้องใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาร่วมด้วยต่อสถานที่จริง
 
คำอธิบาย การใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หมายถึง พื้นที่ที่สำนักงานกำหนดขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ด้านใดด้าน หนึ่ง และได้มีการใช้พื้นที่ดังกล่าวตามที่ได้กำหนดจริง โดยไม่มีสิ่งอื่นมาเกี่ยวข้อง
   
8.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

คำอธิบาย
         1. พื้นที่สีเขียว สามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสำนักงาน เช่น การทำสวนแนวดิ่งกรณีที่ไม่มีพื้นที่สำหรับ ปลูกต้นไม้จากพื้นดิน การปลูกไม้กระถางบริเวณด้านนอกสำนักงานหรือระเบียงทางเดินนอกห้อง ทำงาน
         2. ในการพิจารณาจะต้องดูถึงความสะอาดและความเป็นระเบียบร่วมด้วย
   
8.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค และดำเนินการได้ตามที่กำหนด
        (1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกัน สัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่าง เหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
        (2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค อย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
        (3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
        (4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการ เมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
        (5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรค ในระหว่างการตรวจประเมิน หมายเหตุการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้ เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมา ดำเนินการแทน

หมายเหตุ จะต้องมีการสำรวจพื้นที่และสัมภาษณ์ถึงความเข้าใจผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย
   
8.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและ อพยพหนีไฟตามแผนที่กำหนด
         (1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและ อพยพหนีไฟ
         (2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิง ขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน
         (3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อม อพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มี การฝึกซ้อมเท่านั้น)
         (4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผน ที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
         (5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่ กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
         (6) มีการกำหนดจุดรวมพลที่สามารถ รองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่าง ชัดเจน
         (7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำ ทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อม สื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
         (8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทาง หนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
 
หมายเหตุ  มติที่ประชุมวันที่ 27 มีนาคม 2562 เห็นว่า สำนักงานที่เช่าพื้นที่ กรณีที่เจ้าของพื้นที่ไม่มีการอบรมฝึกซ้อม ดับเพลิง และอพยพหนีไฟ สำนักงานต้องทำหนังสือถึงเจ้าของตึกเช่าเพื่อขอความร่วมมือสำหรับการอบรม ฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ หรือสำนักงานไม่สามารถฝึกซ้อมเองได้เนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ สำนักงานจะต้องแสดงถึงจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน มีการ กำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน มีการกำหนด ทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
   
8.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและ เหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่ เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

คำอธิบาย
แผนฉุกเฉินจะต้องประกอบไปด้วย
        1. ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนการอบรมป้องกันและระงับอัคคีภัย แผนรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย แผนการตรวจตราเพื่อป้องกันอัคคีภัย
        2. ขณะเหตุเพลิงไหม้ ได้แก่ แผนระงับอัคคีภัย แผนอพยพหนีไฟ
        3. หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้แก่ แผนบรรเทาทุกข์แผนปฏิรูปฟื้นฟู
   
8.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้ งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและ ป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้ง เหตุเพลิงไหม้ และร้อยละของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
        (1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
            - ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูง จากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับ จากคันบีบ และถ้าเป็นวางกับพื้น จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
            - ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
            - สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสาย ฉีด ( Hose and Hose Station) (ถ้ามี)
       (2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและ ต้องพร้อมใช้งาน
            - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรือ อาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
            - ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือตัวตรวจจับความ ร้อน (heat detector)
       (3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และ หากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการ แจ้งซ่อมและแก้ไข
       (4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้ และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและ สัญญาณแจ้งเตือน อย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
       (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และ สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
 
คำอธิบาย
ความถี่ในการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
       1. ถังดับเพลิงตรวจสอบทั่วไปเดือนละ 1 ครั้ง ได้แก่ ชนิดของถังดับเพลิง สิ่งกีดขวาง ความดัน สภาพ ชำรุดเสียหาย
       2. สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้(Fire alarm) ปีละ 1 ครั้ง
       3. ติดตั้งตัวดักจับควัน (Smoke detector) หรือตัวตรวจจับความร้อน (Heat detector) ปีละ 1 ครั้ง
       4. ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ดีเซล) สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
       5. ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (มอเตอร์ไฟฟ้า) เดือนละ 1 ครั้ง
       6. สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) เดือนละ 1 ครั้ง