หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

26 มีนาคม 2564 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2566

หมวดที่ 2 โครงสร้างพื้นฐานทางด้านกายภาพและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

กรณีเป็นอาคารเก่า

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

1. มีการศึกษาปัญหาและสภาพอาคารเดิมที่เป็นอุปสรรคต่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ตั้งอยู่ที่อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตั้งอยู่ 133 ถนนเทศบาล 3 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เริ่มเปิดใช้งานอาคาร พ.ศ. 2537 ปัจจุบันมีอายุการใช้งาน 28 ปี เป็นอาคาร 6 ชั้น ตามแบบแปลนอาคารพิมพ์เขียวในการก่อสร้างและแผนผังภายในที่รับรองโดยวิศวกรอย่างถูกต้อง (เอกสารหมายเลข 2.1-1)

เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนาน และสภาพของอาคารเก่าและ เริ่มชำรุด เป็นปัญหาและอุปสรรค ต่อการจัดการพลังงาน และสิ่งแวดล้อม เกิดปัญหาน้ำรั่วซึม ภายในห้องน้ำ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้ทำแบบสำรวจ โครงสร้าง พื้นฐาน อาคารไปยังกองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา เพื่อแจ้งปัญหาที่เกิดขึ้นและขอความ อนุเคราะห์ดำเนินการ ซ่อมแซมปรับปรุงห้องน้ำ (เอกสารหมายเลข 2.1-2) และจาก
นโยบายพัฒนาสำนักวิทยบริการสู่ห้องสมุดสีเขียว (Green Library) เพื่อเป็นหน่วยงาน ที่สร้างเสริมและใส่ใจการประหยัด พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด สีเขียว ของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ตลอดจน สภาพปัญหาที่พบ จึงได้ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการออกแบบห้องสมุด เข้ามาศึกษาสภาพ ปัญหา และอุปสรรคของอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.1-3) ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย คณะผู้บริหารได้ร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลเบื้องต้นและร่วมวางแผนทำการศึกษาสภาพปัญหากับอาจารย์จิราพร เกียรตินฤมล จากสาขาการออกแบบศิลปกรรม ซึ่งผลการศึกษาวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการเลือกรูปแบบห้องสมุดโดยให้มีแนวความคิดเป็นธรรมชาติในการออกแบบตกแต่งภายใน ออกแบบการใช้งานที่ ผสมผสานการออกแบบที่ทันสมัย แต่ดูอบอุ่นโดยนำธรรมชาติ เข้ามามี ส่วนร่วมกับงานออกแบบ เริ่มตั้งแต่การเปิดผนังกระจก ให้กว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แสงจากธรรมชาติภายนอกเข้าสู่ภายใน การใช้วัสดุธรรมชาติ และนำต้นไม้เข้ามาปลูกภายใน เพื่อสร้าง บรรยากาศให้ดูร่มรื่น ฟอกอากาศ โดยต้องคำนึงถึงคุณสมบัติ ของต้นไม้ที่สามารถปลูกภายในอาคารได้ ออกแบบระบบ การลดน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อง่ายต่อการดูแลและดูเป็นหนึ่ง เดียวกันกับพื้นที่ภายใน (เอกสารหมายเลข 2.1-4

และในปีงบประมาณ2566 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รับ การจัดสรรงบประมาณในการปรับปรุงท่อน้ำประปา (เอกสารหมายเลข 2.1-5) รวมทั้งยังได้จัดทำบันทึกข้อความขอความอนุเคราะห์ เครื่องวัดคุณภาพอากาศจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำมาติดตั้งในอาคารบรรณราชนครินทร์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวัดค่ามลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 2.1-6) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ดำเนินการส่งเครื่องมือการตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศมาให้ศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว จำนวน 1 ชุด (เอกสารหมายเลข 2.1-7)  และได้มีการติดตั้ง เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในห้องสมุดศูนย์บรรณ สารสนเทศ ชั้น 1 จำนวน 1 จุด 

2. มีการกำหนดแผนงานปรับปรุงโครงสร้างสถาปัตยกรรม หรือวัสดุประกอบอาคารให้เอื้อต่อการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  

สำนักวิทยบริการฯ ได้เสนอโครงการการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้า พลังงาน แสงอาทิตย์บนหลังคาและระบบกักเก็บพลังงาน จากสํานักงานบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (รอบ 2) เพื่อจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์บนหลังคาและระบบกักเก็บพลังงานเพื่อ ความมั่นคงในการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างยั่งยืนบนหลังคา โดยประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ คือ

1. สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 902,680.68 kWh/ปีคิดเป็นมูลคา 3,944,714.6 บาท/ปี หรือคิดเป็น 0.0769 ktoe/ปีโดยมีอัตราส่วนเงินลงทุนต่อ ค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ตลอดอายุโครงการ (25 ปี) เท่ากับ 2.03 และลดการปลดปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้ 506.4 ตัน/ปี

2. ลดการพึ่งพาการใช้พลังงานไฟฟ้าจากระบบจําหน่ายหลัก ช่วยสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้แก่มหาวิทยาลัยจากการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยเพิ่มความมั่นคง ด้านพลังงานให้แก่พื้นที่ภาคใต้ได้อีกทางหนึ่งด้วย ตามข้อเสนอ โครงการการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์  (เอกสารหมายเลข 2.2-1) ซึ่งมีการจัดทำรายงานการเปรียบ เทียบการประหยัดพลังงาน (เอกสารหมายเลข 2.2-2) และรายงานผลการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา และระบบกักเก็บพลังงาน (เอกสารหมายเลข 2.2-3) 

3. มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพ

สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 โดยจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ การบริหารจัดการคณะ/สถาบัน/สำนัก (งานประจำ) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมบริหารจัดการ กำหนดค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงเครื่อง ปรับอากาศในอาคารสำนักวิทยบริการฯ ไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.3-1) หน้า 4 มีการกำหนดขอบเขตงาน (TOR) งานบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ (ล้างเครื่องปรับอากาศ) (เอกสารหมายเลข 2.3-2) และได้ติดตั้งมิเตอร์ควบคุมการใช้งาน เครื่องปรับอากาศ จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 21,400 บาท โดยใช้ งบประมาณโครงการพัฒนาระบบการจัดการสภาพแวดล้อม Green University (เอกสารหมายเลข 2.3-3)  นอกจากนี้สำนัก วิทยบริการได้ดำเนินการขอความอนุเคราะห์ไปยังกองอาคาร สถานที่เพื่อบำรุงรักษาระบบปรับอากาศทันทีเมื่อชำรุด (เอกสารหมายเลข 2.3-4) และเพื่อเป็นดำเนินการประหยัด การใช้พลังงานสำนักวิทยบริการฯ ได้ประกาศเรื่องมาตรการ ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้อง กับนโยบายของมหาวิทยาลัย และเป็นไปตามเกณฑ์ มาตรฐาน ห้องสมุดสีเขียว จึงได้กำหนดมาตรการประหยัด พลังงานและ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้บุคลากรและผู้ใช้บริการถือปฏิบัติ (เอกสารหมายเลข 2.3-5)  

4. มีการกำหนดแผนงานการปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างที่ ประหยัดพลังงาน

สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 โดยมีโครงการพัฒนาระบบการจัดการ สภาพแวดล้อม Green University ระบุเป็นค่าครุภัณฑ์ มิเตอร์ควบคุม ไฟ จำนวน 1 เครื่องๆ ละ 21,400 บาท เพื่อควบคุมและตรวจสอบการใช้ไฟภายในอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.4-1) (หน้า 5) มีการลดการเปิดไฟ ในพื้นที่ที่ไม่จำเป็น โดยการติดเชือกกระตุกไฟเมื่อต้องการ ค้นหาหนังสือตามตู้หนังสือ (เอกสารหมายเลข 2.4-2) และติดตั้งไฟเซนเซอร์ห้องน้ำ (เอกสารหมายเลข 2.4-3)

5. มีแผนงานและมาตรฐาน เรื่องการปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว

สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2564 โดยมีโครงการพัฒนาระบบการจัดการ สภาพแวดล้อม Green University มีค่าวัสดุ จำนวน 77,300 บาท เพื่อนำงบประมาณมาจัดภูมิทัศน์ (เอกสารหมายเลข 2.5-1) (หน้า 5) ปลูกต้นไม้ ปลูกพืชดูดซับก๊าซ เพื่อตกแต่งสถานที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ลดมลพิษ และช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย (เอกสารหมายเลข 2.5-2) มีการบำรุงรักษา การขยายพันธุ์พืช เพื่อให้เกิดความสวยงามภายนอกอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-3) ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่ปลูกต้นไม้บริเวณริมระเบียงหน้าต่าง ชั้นที่ 5-6 ของอาคาร (เอกสารหมายเลข 2.5-4)