หมวดที่ 1 ทั่วไป

26 มีนาคม 2564 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2566

 

หมวดที่ 1 ทั่วไป

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

1. การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และยุทธศาสตร์

วิสัยทัศน์  

  1.1 การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวให้เป็นแหล่งเรียนรู้ มีการบริหาร จัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและให้บริการความรู้ที่สอดคล้อง กับนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของชาติ

1.1 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้กำหนดแผนการดำเนินงาน และเป้าหมายการเป็นแหล่งความรู้ โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2564 (เอกสารหมายเลข 1.1-1) และแผนปฏิบัติราชการศูนย์บรรณ สารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.1-2)  โดยอาศัยความร่วมมือของบุคลากร ในหน่วยงาน โดยได้มีการดำเนินการทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ จัดทำ SWOT และจัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อประกอบการ ดำเนินงาน และได้มีการประกาศวิสัยทัศน์บนเว็บไซต์ห้องสมุด สีเขียว) (เอกสารหมายเลข 1.1-3) ประกาศนโยบายการดำเนิน งานจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม (YRU Green Library) (เอกสารหมายเลข 1.1-4) ผ่าน Web Site http://greenlibrary.yru.ac.th/ และปิดป้ายประกาศนโยบาย การพัฒนาสำนักวิทยบริการฯ สู่ห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.1-5) มีนโยบายบริหารสำนักวิทยบริการฯ 2561-2564 (เอกสารหมายเลข 1.1-6) และนโยบายบริหารสำนักวิทยบริการฯ 2565-2568 (เอกสารหมายเลข 1.1-7)   และประชุมชี้แจงกำหนดตัวชี้วัด การพัฒนาห้องสมุดเข้าสู่ ห้องสมุดสีเขียวเพื่อให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พัฒนาห้องสมุดสีเขียวร่วมกัน (เอกสารหมายเลข 1.1-8) (หน้า 5)

 

พันธกิจ 

  1.2 เป็นแหล่งบริการความรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตามต้องการของชุมชน และสังคม

1.2 ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดหาจัดเก็บ และให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพลังงาน และสิ่งแวดล้อม ดังรายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง (เอกสารหมายเลข 1.2-1) รายชื่อทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยว ข้องปี2565 (เอกสารหมายเลข 1.2-2)   จัดให้บริการสืบค้น สารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการได้ผ่าน WebOPAC ที่ฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศ Web OPAC) https://opac.yru.ac.th/main/index.aspx สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดกิจกรรมการสอนการรู้สารสนเทศ แก่นักศึกษา อาจารย์ รวมทั้งบุคคลภายนอกที่ให้ความสนใจ เข้าอบรมในหัวข้อต่าง ๆ (เอกสารหมายเลข 1.2-3) มีการให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดในเครือข่ายความร่วมมือ ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการ ดังรายงานสรุปผลการดำเนินงานบริการยืมระหว่างห้องสมุด               ปี 2563-2565 (เอกสารหมายเลข 1.2-4) นอกจากนี้ ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศหลากหลายกิจกรรม เช่น มุมความรู้ประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม 2563-2564 บอร์ดสารสนเทศเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน (เอกสารหมายเลข 1.2-5 และปี 2565 ได้มีการจัดบอร์ดสารสนเทศ การอนุรักษ์ พลังงาน เรื่องรักษ์โลก ลดขยะ (เอกสารหมายเลข 1.2-6) เป็นต้น

  1.3 จัดหาและจัดการทรัพยากรสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.3 ในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และ พ.ศ. 2564 ศูนย์บรรณ สารสนเทศ  สำนักวิทยบริการฯได้ทำการจัดหาและจัดการ ทรัพยากร สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และเตรียมพร้อม ออกให้บริการ รายงานผลการดำเนินงานการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564 (เอกสารหมายเลข 1.3-1) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เอกสารหมายเลย 1.3-2) และการทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ทรัพยากรด้าน

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กรมส่งเสริมคุณภาพ สิ่งแวดล้อม สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  (เอกสารหมายเลข 1.3-3)  นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศได้รวบรวมข้อมูลบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีให้บริการ รายงานจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด ทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีให้บริการในห้องสมุด จำนวน 12,043 รายการ และมีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับ พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน  4,579 รายการ  (เอกสารหมายเลข 1.3-4)  

  1.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม 

1.4 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดกิจกรรมการสอนการรู้ สารสนเทศเพื่อส่งเสริมการใช้บริการและการเรียนรู้ โดยผู้ใช้ บริการสามารถลงทะเบียนหรือแจ้งความจำนงเข้าฝึกอบรมการ สืบค้นสารสนเทศได้ที่เคาน์เตอร์บริการและเผยแพร่สารสนเทศและได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น 1. กิจกรรมส่งเสริมการใช้สารสนเทศ : กิจกรรมปฐมนิเทศ นักศึกษาใหม่ (เอกสารหมายเลข 1.4-1-1) 
2. กิจกรรมอบรมการสืบค้นผ่านระบบออนไลน์
(เอกสารหมายเลข 1.4-1-2)

  1.5 ส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจ และมีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.5 ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดกิจกรรมและส่งเสริมบุคลากร เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรห้องสมุดและ ผู้รับบริการ มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักรู้ใน เรื่องการ อนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในปี พ.ศ. 2564 ดังนี้

1.5-1 โครงการอบรมเชิงวิชาการเรื่อง “การจัดการคาร์บอน ฟุตพริ้นท์ในหน่วยงาน” (เอกสารหมายเลข 1.5-1) 

1.5-2 โครงการฝึกอบรม เรื่อง การเตรียมความพร้อมสำหรับ รองรับการตรวจประเมินห้องสมุดสีเขียว

(เอกสารหมายเลข 1.5-2) 

1.5-3 โครงการอบรมการพัฒนาระบบการจัดการสภาพแวดล้อม Green University กิจกรรมพัฒนาห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (เอกสารหมายเลข 1.5-3) 

 1.5-4 ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาห้องสมุด สีเขียวรูปแบบต่าง ๆ 1) ข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ (เอกสารหมายเลข 1.5-4-1) 2) เว็บไซต์ YRU Green Library (เอกสารหมายเลข 1.5-4-2) 3) ประชาสัมพันธ์บนเฟสบุ๊กศูนย์บรรณสารสนเทศ (เอกสารหมายเลข 1.5-4-3) จัดนิทรรศการและมุมให้ความรู้ เช่น มุมความรู้ประหยัดพลังงานและรักษ์สิ่งแวดล้อม 2559-2560 บอร์ดสารสนเทศเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน (เอกสารหมายเลข 1.5-4-4) เป็นต้น

1.5-5 อบรม“ความท้าทายของห้องสมุด สู่ความยั่งยืน และ Carbon Neutrality”  โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ และ ชมรมห้องสมุดสีเขียว  (เอกสารหมายเลข 1.5-5)

และในปีพศ. 2565 ทางห้องสมุดก็ยังสร้างเครือข่ายกับ หน่วยงานอื่นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ห้องสมุด สีเขียวอย่างเต็มรูปแบบ โดยได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ อบรม เสวนา สัมมนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ การเสวนาและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย” มีสถาบันที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ได้แก่หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (เอกสารหมายเลข 1.5-6) กิจกรรมสร้างสรรค์กุหลาบหอมจากใบเตยโดยศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับ อุทยานการเรียนรู้ยะลา TK Park  (เอกสารหมายเลข 1.5-7)   สัมมนาออนไลน์ หัวข้อ : การจัดการขยะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้อย่างไร ? โดยชมรมห้องสมุดสีเขียวและมหาวิทยาลัยนเรศวร  (เอกสารหมายเลข 1.5-8) กิจกรรมอบรมการสร้างจิตสำนึกและการสร้างวินัย ด้วย 7ส (เอกสารหมายเลข 1.5-9) และกิจกรรมอบรมการดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (เอกสารหมายเลข 1.5-10)

  1.6 ส่งเสริมการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1.6 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินงานส่งเสริมการบริหารจัดการ วัสดุ สินค้าและบริการต่าง ๆ ตาม คู่มือการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.6-1) ได้รวบรวมและจัดทำบัญชีรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.6-2) บุคลากรใน ศูนย์บรรณสารสนเทศก็ใช้วัสดุส่วนตัวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  (เอกสารหมายเลข 1.6-3)

 

เป้าหมาย

  1.7 ห้องสมุดเป็นแหล่งบริการความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมนอกเหนือจากการให้บริการความรู้ตามบริบทของแต่ละห้องสมุด

1.7 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานและ เป้าหมายการ เป็นแหล่งความรู้ โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2564 (เอกสารหมายเลข 1.7-1) และแผนปฏิบัติราชการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการฯ ประจำปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.7-2)   ประกาศนโยบายการพัฒนา สำนักวิทยบริการฯ สู่ห้องสมุดสีเขียว (YRU Green Library) (เอกสารหมายเลข 1.7-3) ตลอดจนจัดนิทรรศการเผยแพร่ด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.7-4

  1.8 ห้องสมุดมีทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตามความต้องการของชุมชนและสังคม

1.8 ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการจัดหา จัดเก็บ และให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ และตรงตาม ความต้องการของชุมชนและสังคม ซึ่งห้องสมุดมีจำนวน ทรัพยากรสารสนเทศด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ที่ให้บริการ จำนวน 12,043 รายการ (เอกสารหมายเลข 1.8)  

  1.9 ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.9 ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัย มีการจัดกิจกรรมและบริการการเรียนรู้หลากหลายประเภท เช่น จัดบอร์ดเผยแพร่ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม  (เอกสารหมายเลข 1.9-1) ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับ การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ประชาสัมพันธ์ ความรู้และบริการบนเว็บไซต์สำนักศูนย์บรรณสารสนเทศ (เอกสารหมายเลข 1.9-2) เว็บไซต์ YRU Green Library (เอกสารหมายเลข 1.9-3)  ประชาสัมพันธ์บนเฟสบุ๊ก ศูนย์บรรณสารสนเทศ (เอกสารหมายเลข 1.9-4) จัดทำบรรณานิทัศน์ส่งเสริมการอ่านหนังสือด้านอนุรักษ์พลัง งานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.9-5)  

  1.10 บุคลากรห้องสมุดและผู้รับบริการมีความรู้ความเข้าใจและ มีความตระหนักรู้ในเรื่องการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

1.10.1 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 

- จัดประกวดโครงการบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว
(เอกสารหมายเลข 1.10-1)

- กิจกรรมประกวดอินโฟกราฟิกหัวข้อการอนุรักษ์พลังงานฯ
(เอกสารหมายเลข 1.10-2)
- การจัดอบรมโครงการห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.10-3)

-   จัดกิจกรรมประกวดประกวดคลิปวิดีโอ หัวข้อ “"โลกร้อน" ขึ้น 1.2 องศาฯ มนุษย์จะเจอ "ภัยร้าย" อะไรบ้าง?”

(เอกสารหมายเลข 1.10-4)

- โครงการพัฒนาระบบการจัดการสภาพแวดล้อม GREEN UNIVERSITY "กิจกรรม สร้างสรรค์กุหลาบหอมจากใบเตย” (เอกสารหมายเลข 1.10-5)

- เข้าร่วมสัมมนาออนไลน์หัวข้อ : การจัดการขยะ ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ? (เอกสารหมายเลข 1.10-6)

- ประชุมออนไลน์หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมรับการ ตรวจประเมิน ห้องสมุดสีเขียวประจำปี พ.ศ.2565” (เอกสารหมายเลข 1.10-7)

- โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ AMERICAN CORNERS AIR QUALITY LEANING EMPOWERMENT (ACAQLE) (เอกสารหมายเลข 1.10-8)

-  อบรมสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE) สู่หน่วยงานต้นแบบ หัวข้อ การกำจัดขยะมูลฝอย (เอกสารหมายเลข 1.10-9)

- ร่วมรับฟังการเสวนา เรื่อง “ความท้าทายของห้องสมุด สู่ความยั่งยืนและ CARBON NEUTRALITY” (เอกสารหมายเลข 1.10-10)

1.10.2 ในส่วนของผู้ใช้บริการ ศูนย์บรรณสารสนเทศได้มี การสำรวจ ความพึงพอใจในการใช้บริการ ผลสรุปที่เกี่ยวข้อง กับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
        1) ปีการศึกษา 2564 ด้านสถานที่และสิ่งอำนวย ความสะดวก โดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.03) จำแนกตามข้อคำถาม พบว่า ความสะอาดของสถานที่ให้บริการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดของหมวด อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.13) (
เอกสารหมายเลข 1.10-11) (หน้า10)
        2) ปีการศึกษา 2564 ประสานอาจารย์จิราพร เกียรตินฤมล หลักสูตรออกแบบศิลปกรรมเพื่อดำเนิน การศึกษาวิจัยและออกแบบห้องสมุด (
เอกสารหมายเลข 1.10-12) ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผู้ใช้บริการเลือกรูปแบบ ห้องสมุด โดยให้มีแนวความคิดเป็นธรรมชาติ ในการออกแบบ ตกแต่งภายใน ออกแบบการใช้งานที่ผสมผสานการออกแบบ ที่ทันสมัย แต่ดูอบอุ่นโดยนำธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วม กับงานออกแบบ เริ่มตั้งแต่การเปิดผนังกระจกให้กว้างมากยิ่งขึ้น เพื่อให้แสงจากธรรมชาติภายนอกเข้าสู่ภายใน การใช้วัสดุ ธรรมชาติ และนำต้นไม้เข้ามาปลูกภายใน เพื่อสร้างบรรยากาศ ให้ดูร่มรื่น ฟอกอากาศ โดยต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของต้นไม้ที่ สามารถปลูกภายในอาคารได้ ออกแบบระบบการลดน้ำ แบบอัตโนมัติ เพื่อง่ายต่อการดูแลและดูเป็นหนึ่งเดียว กันกับพื้นที่ภายใน (เอกสารหมายเลข 1.10-13)

  1.11 ห้องสมุดมีการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้ ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและของเสีย โดยใช้หลักการและเครื่องมือ ที่เหมาะสม

1.11 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดทำแผนการดำเนินงานด้าน การจัดการทรัพยากรและพลังงานในปีพ.ศ.2564 และใน ปีพ.ศ.2565 ได้ปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้ เป็นปัจจุบัน (เอกสารหมายเลข 1.11-1) อีกทั้งมีการดำเนิน กิจกรรมเพื่อ เสริมสร้างความรู้ ความตระหนักรู้ และส่งเสริมการปฏิบัติตน ของบุคลากรและผู้ใช้บริการหลายอย่าง ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิ ภาพการใช้พลังงาน ลดการใช้ทรัพยากร ลดปริมาณขยะและ ของเสียตามแผนงานและมาตรการการบริหารจัดการของเสียและมลพิษที่ได้มีการจัดทำแผนและมาตรการอย่างต่อเนื่องทั้งปีพ.ศ.2564 และปีพ.ศ.2565 (เอกสารหมายเลข 1.11-2) การจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาและระบบกักเก็บพลังงาน (เอกสารหมายเลข 1.11-3) จัดทำป้าย รณรงค์ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน (เอกสารหมายเลข 1.11-4) จัดทำมาตรฐาน 5ส เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของ บุคลากร (เอกสารหมายเลข 1.11-5) จัดให้มีถังขยะแยกตาม ประเภทที่กำหนดไว้ (เอกสารหมายเลข 1.11-6) มีแผนงานและ มาตรการจัดการขยะของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 1.11-7) มีการนำกระดาษหน้าเดียวกลับมาใช้ซ้ำ (เอกสารหมายเลข 1.11-8) อนุญาตและส่งเสริมให้บุคลากร และผู้ใช้บริการนำ แก้วน้ำส่วนตัวเข้ามาใช้ในสำนักวิทยบริการ เพื่อลดปริมาณ ขวดน้ำ และแก้ปัญหาการไม่อนุญาตให้เอาแก้วน้ำ พลาสติกบางเข้ามาดื่มในสำนักวิทยบริการ (เอกสารหมายเลข 1.11-9) มีการเปิดรับบริจาควัสดุเหลือใช้ขวดพลาสติก ในโครงการ "เปลี่ยนขยะ เป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)"  

(เอกสารหมายเลข 1.11-10) มีการเปลี่ยนหัวก๊อกน้ำ แบบประหยัดในห้องน้ำ เป็นต้น (เอกสารหมายเลข 1.11-11) มีการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 1.11-12) และมีการตรวจสอบซ่อมแซมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อป้องการการรั่วซึมอย่างสม่ำเสมอ  

(เอกสารหมายเลข 1.11-13)   

 

ยุทธศาสตร์

  1.12 มีการกำหนดให้นโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งในนโยบายการบริหารจัดการห้องสมุด

1.12-1 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2564 สำนักวิทยบริการฯ ได้มีนโยบายการบริหารสำนักวิทยบริการฯ โดยมีการกำหนด การพัฒนาห้องสมุดสีเขียวไว้อย่างชัดเจน (เอกสารหมายเลข 1.12-1) หน้า 4  

1.12-2 ส่วนในปีงบประมาณ 2565-2568 ก็ได้มีการกำหนดนโยบายการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว (Green Library) และการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หน้าที่ 3 (เอกสารหมายเลข 1.12-2)

1.12-3 แผนปฏิบัติราชการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทย บริการฯ ประจำปี 2564 (เอกสารหมายเลข 1.12-2) และแผนปฏิบัติราชการ ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทย บริการฯ ประจำปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.12-3)

  1.13 มีการแลกเปลี่ยนและใช้ประโยชน์ทรัพยากรสารสนเทศ ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

1.13 ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการให้บริการยืมระหว่าง ห้องสมุดในเครือข่ายความร่วมมือต่าง ๆ ในประเทศ ดังสถิติ  

1.13-1 รายงานผลการดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด ปีงบประมาณ พ.ศ.2563 - 2565 (เอกสารหมายเลข 1.13-1

1.13-2 รายงานจำนวนทรัพยากรสารสนเทศ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมด ทรัพยากรสารสนเทศด้าน การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่มีให้บริการในห้องสมุด จำนวน 12,043 รายการ และมีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศ เกี่ยวกับพลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน  4,579  รายการ (เอกสารหมายเลข 1.13-2)

  1.14 มีการสร้างเครือข่ายห้องสมุดสีเขียว พัฒนาความร่วมมือ กับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีพศ. 2563 เพื่อเตรียมความพร้อม ใน การเข้าสู่ “ห้องสมุดสีเขียว” เรื่อง การบริหารจัดการ ห้องสมุดสีเขียว และการเตรียมความพร้อมรับการประเมิน เข้าสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ และมหาวิทยาลัยมหิดล (เอกสารหมายเลข 1.14-1)  ตลอดจนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 9 (9th SRARITNET)  ระหว่างวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วังสายทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล (เอกสารหมายเลข 1.14-2)  ในปี พ.ศ 2564 ยังมีความร่วมมือ กับหน่วยงานอื่น ๆ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การประเมิน ห้องสมุดสีเขียวร่วมกับสำนักทรัพยากรการเรียนรู้ คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (เอกสารหมายเลข 1.14-3)  อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับ หน่วยงานอื่น ๆ โดยได้ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการอบรม เสวนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ เข้าร่วมโครงการกิจกรรมชดเชย คาร์บอน  (เอกสารหมายเลข 1.14-4) อบรม“ความท้าทายของห้องสมุด สู่ความยั่งยืน และ Carbon Neutrality”  โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ และ ชมรมห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.14-5) และได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวตั้งแต่ปี

2564 (เอกสารหมายเลข 1.14-6) เนื่องจากศูนย์บรรณ สารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น “ห้องสมุดสีเขียว”และในปีพศ. 2565 ทางห้องสมุดก็ยังสร้าง เครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ เข้าสู่ห้องสมุดสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบโดยได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรม เสวนา สัมมนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ  การเสวนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย” มีสถาบันที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ได้แก่หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2565  (เอกสารหมายเลข 1.14-7) กิจกรรมสร้างสรรค์กุหลาบหอมจากใบเตยโดยศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลาร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ยะลา TK Park  ปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.14-8) สัมมนาออนไลน์หัวข้อ

: การจัดการขยะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ อย่างไร? โดยชมรมห้องสมุดสีเขียวและมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี2565   

(เอกสารหมายเลข 1.14-9) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ American Corners Air Quality Leaning Empowerment (ACAQLE) ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันยะลา (Yala American Corner) ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในวันที่ 16 มิถุนายน 2565  ให้กับบุคลากร นิสิต/นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยเปิดโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ รวมถึงการอ่านค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่จะนำไปสู่การพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และความตระหนักรู้เรื่องปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และคุณภาพอากาศในชุมชน นอกจากนี้โครงการ ยังได้มีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการคิดค้นโครงการจากองค์ความรู้ที่ได้รับ เพื่อเข้าร่วมประกวดในงานสัมมนาโครงการ ACAQLE ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 2565 และทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้เสนอผลงานประเภทโครงการ แอปพลิเคชั่นหรือการประยุกต์ (โซเชียล/การมีส่วนร่วมการรับรู้) และได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการ "รู้จักเขา รู้จักเรา เรารู้กัน เพื่อลมหายใจของทุกคน" และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากโครงการ "White Heart Project พิชิตฝุ่น PM 2.5" โดยได้ไปรับรางวัลในงาน Thailand’s Science Week 2022 ณ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในเดือนสิงหาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 1.14-10)

  1.15 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม 

1.15 ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการศึกษาแนวปฏิบัติที่ดี ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมศึกษา ดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีพศ. 2563 เพื่อเตรียม ความพร้อม ในการเข้าสู่ “ห้องสมุดสีเขียว”เรื่อง การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการเตรียมความพร้อม รับการประเมินเข้าสู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ และ มหาวิทยาลัยมหิดล (เอกสารหมายเลข 1.15-1)  ตลอดจน ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สรุปรายงานการประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฎ

เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 9 (9th SRARITNET) ระหว่างวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วังสายทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล (เอกสารหมายเลข 1.15-2)  ในปี พ.ศ 2564 ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการประเมินห้องสมุดสีเขียวร่วมกับสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงอรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (เอกสารหมายเลข 1.15-3)  อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ โดยได้ส่งบุคลากร เข้าร่วมโครงการอบรม เสวนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอาทิ เข้าร่วมโครงการกิจกรรมชดเชยคาร์บอน (เอกสารหมายเลข 1.15-4) อบรม“ความท้าทายของห้องสมุด สู่ความยั่งยืน และ Carbon Neutrality”  โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ และ ชมรมห้องสมุดสีเขียว (เอกสารหมายเลข 1.15-5) และได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวตั้งแต่ปี

2564 (เอกสารหมายเลข 1.15-6) เนื่องจากศูนย์บรรณ สารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น “ห้องสมุดสีเขียว”และในปีพศ. 2565 ทางห้องสมุดก็ยังสร้าง เครือข่ายกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ ห้องสมุดสีเขียวอย่างเต็มรูปแบบโดยได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรม เสวนา สัมมนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ  การเสวนาและแลก เปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและ ความท้าทาย” มีสถาบันที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2565  (เอกสารหมายเลข 1.15-7) กิจกรรมสร้างสรรค์กุหลาบหอมจากใบเตยโดยศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลาร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ยะลา TK Park  

ปี 2565 (เอกสารหมายเลข 1.15-8) สัมมนาออนไลน์

หัวข้อ : การจัดการขยะช่วยอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ? โดยชมรมห้องสมุดสีเขียวและมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี2565  

(เอกสารหมายเลข 1.15-9) นอกจากนี้บุคลากรยังได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ American Corners Air Quality Leaning Empowerment (ACAQLE)  ซึ่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดโครงการ ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันยะลา (Yala American Corner) ในวันที่ 16 มิถุนายน 2565  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ รวมถึงการอ่านค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่จะนำไปสู่การพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และความตระหนักรู้เรื่องปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และคุณภาพอากาศในชุมชน (เอกสารหมายเลข 1.15-10)

  1.16 มีการประเมินผลการดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว โดยใช้ตัวชี้วัดและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม

1.16 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้ดำเนินการประเมินผล การดำเนินงาน ห้องสมุดสีเขียว เกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้า ขยะ และการพัฒนาสำนักวิทยบริการฯ สู่ห้องสมุดสีเขียว ดังรายละเอียดตัวชี้วัด และตัวบ่งชี้ ที่มหาวิทยาลัยมอบหมาย และสำนักวิทยบริการฯ พัฒนาขึ้น ดังนี้ 

1.16-1 การสำรวจประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อ รายงานการประเมินตนเอง (SAR) การประกันคุณภาพการศึกษา 2563  (เอกสารหมายเลข 1.16-1

1.16-2 ตัวชี้วัดการพัฒนาห้องสมุดสีเขียว ในรายงานผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 ตามตัวอย่าง 

 (เอกสารหมายเลข 1.16-2) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามตัวอย่าง (เอกสารหมายเลข 1.16-3)

2. มีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลในการกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และนำไปสู่การ กำหนดแนวทางการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ การเป็นห้องสมุดสีเขียว

2. ศูนย์บรรณสารสนเทศ กำหนดบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ในการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) ทุกด้าน และนำไป สู่การกำหนดเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ และแผน ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาเป็นห้องสมุดสีเขียวทุกปี โดยใน แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ได้มีการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) รวมทั้งในยุทธ ศาสตร์ ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหาร จัดการมหาวิทยาลัยให้มี คุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการ เปลี่ยนแปลง เน้นการใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร เป้าประสงค์ที่ 1 มหาวิทยาลัยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการ ปฏิบัติงานการให้ บริการ การเรียนรู้และเป็น มหาวิทยาลัยสีเขียว Green University โดยได้กำหนดให้มีโครงการพัฒนาการจัดการสภาพ แวดล้อมสู่มหาวิทยาลัยสีเขียว (เอกสารหมายเลข 2.1) หน้า 25 และ หน้า 30 รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ก็ได้มีการวิเคราะห์ศักยภาพองค์กร (SWOT) และกำหนดให้ มีโครงการพัฒนาการจัดการสภาพแวดล้อมสู่ มหาวิทยาลัย สีเขียวด้วยเช่นเดียวกัน (เอกสารหมายเลข 2.2

3. กำหนดขอบเขตการดำเนินงานตามมาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ซึ่งสามารถดำเนินการทั้งหมด หรือเฉพาะส่วน โดยไม่นับรวมกิจกรรม ของห้องสมุดที่ไม่มีนัยสำคัญในการก่อให้เกิดผลกระทบต่อการอนุรักษ์ พลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งนี้ ต้องมีการชี้แจงเหตุผลประกอบในกรณี ที่ไม่ดำเนินการทั้งหมด

3. ศูนย์บรรณสารสนเทศ กำหนดให้มีการดำเนินงานพัฒนาสู่ มาตรฐานห้องสมุดสีเขียวทุกด้าน ดังนโยบายการบริหาร สำนักวิทยบริการฯ (เอกสารหมายเลข 3.1) ซึ่งสามารถ ดำเนินการได้ทุกด้าน ดังรายงานผลการดำเนินงาน ตามแผน ปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาส 4 โครงการพัฒนาระบบการจัดการสภาพแวดล้อม Green University (เอกสารหมายเลข 3.2) และวางแผนดำเนินการ พัฒนา อย่างต่อเนื่องโดยได้จัดทำคำของบประมาณประมาณปี 2565 โครงการพัฒนาการจัดการสภาพแวดล้อมสู่ มหาวิทยาลัยสีเขียว มีงบประมาณ 74,800 บาท (เอกสาร หมายเลข 3.3)