หมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

16 พฤศจิกายน 2564 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2566

หมวดที่ 7 เครือข่ายและความร่วมมือระหว่างห้องสมุด

 

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

1. มีความร่วมมือกับห้องสมุดอื่น ๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน การจัดการความรู้ หรือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการ บริหารจัดการและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและ สิ่งแวดล้อม

ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดกิจกรรมศึกษา ดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในปีพศ. 2563 เพื่อเตรียมความ พร้อมในการเข้าสู่ “ห้องสมุดสีเขียว”  เรื่อง การบริหารจัดการ ห้องสมุดสีเขียว และการเตรียมความพร้อม รับการประเมินเข้า สู่มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ และ มหาวิทยาลัยมหิดล (เอกสารหมายเลข 7.1-1)  ตลอดจนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปรายงานการประชุมเครือข่ายสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้ ครั้งที่ 9 (9th SRARITNET)  ระหว่างวันที่ 11 – 12 กุมภาพันธ์ 2563 ณ วังสายทอง ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล (เอกสารหมายเลข 7.1-2)

     ในปี พ.ศ 2564 ยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการประเมินห้องสมุดสีเขียวร่วมกับสำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลง อรรถกระวีสุนทร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (เอกสารหมายเลข 7.1-3)  อีกทั้งยังมีความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น ๆ โดยได้ส่ง บุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรม เสวนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ เข้าร่วมโครงการกิจกรรม ชดเชยคาร์บอน  (เอกสารหมายเลข 7.1-4)  อบรม“ความท้าทายของห้องสมุด สู่ความยั่งยืน และ Carbon Neutrality”  โดยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย ฯ และ ชมรมห้องสมุดสีเขียว ปี 2564 

(เอกสารหมายเลข 7.1-5) และได้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกเครือข่ายห้องสมุดสีเขียวตั้งแต่ปี 2564 (เอกสารหมายเลข 7.1-6) เนื่องจาก ศูนย์บรรณสารสน เทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการพัฒนาห้องสมุดให้เป็น “ห้องสมุด สีเขียว”

และในปีพศ. 2565 ทางห้องสมุดก็ยังสร้างเครือข่ายกับ หน่วยงานอื่น ๆ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเข้าสู่ห้องสมุด สีเขียวอย่างเต็มรูปแบบ โดยได้ส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ อบรม เสวนา สัมมนา ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม อาทิ  การเสวนาและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย” มีสถาบันที่เข้าร่วมแลก เปลี่ยนเรียนรู้ ได้แก่หอสมุดกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล (เอกสารหมายเลข 7.1-7) มีการดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์กุหลาบหอมจากใบเตย โดยศูนย์บรรณ สารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี สารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมกับ อุทยานการเรียนรู้ยะลา TK Park  (เอกสารหมายเลข 7.1-8) สัมมนาออนไลน์หัวข้อ : การจัดการขยะ ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ? โดยชมรมห้องสมุดสีเขียวและมหาวิทยาลัยนเรศวร (เอกสารหมายเลข 7.1-9) นอกจากนี้สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ร่วมกับสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ American Corners Air Quality Leaning Empowerment (ACAQLE) ณ ศูนย์ข้อมูลและวัฒนธรรมอเมริกันยะลา (Yala American Corner) ศูนย์บรรณสารสนเทศ ในวันที่ 16 มิถุนายน 2565  ให้กับบุคลากร นิสิต/นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยเปิดโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการใช้ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ รวมถึงการอ่านค่าการตรวจวัดคุณภาพอากาศที่จะนำไปสู่การพัฒนา ถ่ายทอดองค์ความรู้ และความตระหนักรู้เรื่องปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน และคุณภาพอากาศในชุมชน นอกจากนี้โครงการ ยังได้มีการจัดกิจกรรมการแข่งขัน โดยให้ผู้เข้าร่วมโครงการคิดค้นโครงการจากองค์ความรู้ที่ได้รับ เพื่อเข้าร่วมประกวดในงานสัมมนาโครงการ ACAQLE ณ จังหวัดเชียงใหม่ ในเดือนกรกฎาคม 2565 และทีมนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้เสนอผลงานประเภทโครงการ แอปพลิเคชั่นหรือการประยุกต์ (โซเชียล/การมีส่วนร่วมการรับรู้) และได้รับรางวัลชนะเลิศ จากโครงการ "รู้จักเขา รู้จักเรา เรารู้กัน เพื่อลมหายใจของทุกคน" และได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากโครงการ "White Heart Project พิชิตฝุ่น PM 2.5" โดยได้ไปรับรางวัลในงาน Thailand’s Science Week 2022 ณ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในเดือนสิงหาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 7.1-10)