https://www.public-table.com/

pengeluaran hk

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

26 มีนาคม 2564 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2566

หมวดที่ 4 การจัดการของเสียและมลพิษ

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

1. มีแผนงานและดำเนินการจัดการขยะ โดยเลือกวิธีการจัดการที่ เหมาะสม ลดปริมาณขยะ (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มีการตรวจสอบความถูกต้อง ในการคัดแยกและบันทึกปริมาณขยะ มีพื้นที่รวบรวมขยะก่อนส่งกำจัด และมีวิธีการส่งกำจัดที่เหมาะสมสำหรับขยะแต่ละประเภท

ด้วยมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ได้มีการประกาศเรื่องนโยบาย การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนามหาวิทยาลัยสีเขียว (Green YRU Green University) (เอกสารหมายเลข 4.1-1) โดยมีเป้าหมายการพัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน การให้บริการ การเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัย สีเขียว Green University ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ ของยุทธศาสตร์ และตัวชี้วัดด้านการพัฒนาสภาพแวดล้่อม มหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ที่กำหนดไว้ใน แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเพื่อการยกระดับมาตรฐานสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ.2560 - พ.ศ.2569) (เอกสารหมายเลข 4.1-2) และมีคู่มือการจัดเก็บและจัดการขยะ ภายในของมหาวิทยาลัย (เอกสารหมายเลข 4.1-3) เพื่อให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินงาน ด้านการจัดการของเสียและมลพิษของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน จึงนำแผนปฏิบัติงานแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี ของมหาวิทยาลัย ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูประบบบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (เอกสารหมายเลข 4.1-4) มาจัดทำมาตรการบริหารจัดการ ของเสีย และมลพิษของศูนย์บรรณสารสนเทศ (เอกสารหมายเลข 4.1-5) ซึ่งโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องตามที่ กำหนดไว้เสร็จทุกโครงการ/กิจกรรม ได้จัดทำรายงานผลการ ดำเนินงานตามแผนการดำเนินงานการจัดการของเสียและมลพิษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 รอบ 6 เดือน (เอกสารหมายเลข 4.1-6)  นอกจากนี้มีจัดกิจกรรมขอรับ บริจาคถุงผ้า เพื่อให้ผู้ใช้บริการยืมใส่หนังสือ (เอกสารหมายเลข 4.1-7)  และเข้าร่วมโครงการ “เปลี่ยนขยะ เป็นบุญ (เมื่อคุณหมุนเวียน)” ซึ่งจัดโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) ด้วยการเปิดรับบริจาคขวดน้ำพลาสติกเพื่อดำเนินการจัดส่งขวดพลาสติกที่ได้รับบริจาคให้กับบริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด เพื่ออัพไซเคิลเป็นชุด PPE ให้กับคุณหมอและบุคลากรทาง การแพทย์ (เอกสารหมายเลข 4.1-8) ตลอดจนการจัดทำมุม ให้ความรู้ เกี่ยวกับขยะ “รู้หรือไม่ ขยะแต่ละชนิดใช้เวลา ในการย่อยสลายนานเท่าไหร่” เพื่อเป็นการกระตุ้นและ ส่งเสริมให้นักศึกษาหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายง่าย (เอกสารหมายเลข 4.1-9)

   ทั้งนี้ในปี 2563-2565 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ดำเนินการ จัดการขยะอย่างเหมาะสมดังนี้

1) ลดปริมาณขยะ (Reduce) สำนักวิทยบริการได้จัดทำประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติการงดใช้กระดาษ (Paperless) (เอกสารหมายเลข 4.1-10) เพื่อลดปริมาณการใช้กระดาษ ให้น้อยลง และเป็นการนำ เทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้ประหยัด ต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น (เอกสารหมายเลข 4.1-11)  

2) การใช้ซ้ำ (Reuse) จัดทำชั้นวางกระดาษ ณ จุดบริการ เครื่องถ่ายเอกสาร เพื่อแยกประเภทกระดาษ หากมีกระดาษ ที่ถูกใช้ไปแล้วหน้าเดียว ผู้ใช้บริการสามารถ นำอีกหน้ามา ใช้ใหม่ได้ เพื่อเป็นการลดจำนวนปริมาณ การใช้กระดาษ ภายในหน่วยงาน (เอกสารหมายเลข 4.1-12)

3) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) จัดประกวดโครงการ การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว (GREEN LIBRARY) โดยการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วหรือเป็นขยะมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (เอกสารหมายเลข 4.1-13) 

4) มีการตรวจสอบความถูกต้องในการคัดแยกและบันทึก ปริมาณขยะ (เอกสารหมายเลข 4.1-14) มีพื้นที่รวบรวม ขยะก่อนส่งกำจัด (เอกสารหมายเลข 4.1-15) และมีถังขยะที่ เหมาะสำหรับขยะแต่ละประเภท (เอกสารหมายเลข 4.1-16) 

2. มีแผนงานและดำเนินการจัดการน้ำเสียโดยเริ่มจากการวิเคราะห์ คุณภาพน้ำ เพื่อเลือกแนวทางในการจัดการน้ำเสียอย่างเหมาะสม เช่น การเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น มีการดูแลและตรวจสอบระบบ บำบัดน้ำเสียอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการลดปริมาณการใช้น้ำ หรือใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้ดำเนินการจัดทำแผน งานจัดการน้ำเสีย โดยมีการประชุมบริษัทผู้รักษาความสะอาด ซึ่งได้แจ้งเรื่องการเลือกใช้น้ำยาทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 4.2-1) (หน้า 4-5) และมีการเปลี่ยน หัวก๊อกน้ำแบบประหยัดในห้องน้ำ เป็นต้น  (เอกสารหมายเลข 4.2-2) ต่อมาในปี 2565 ได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้ ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัด โดยการจัดทำบอร์ดและสื่อ ประชาสัมพันธ์ภายในห้องสมุด (เอกสารหมายเลข 4.2-3) มีการบันทึกการใช้ปริมาณน้ำในแต่ละเดือน (เอกสารหมายเลข 4.2-4) อีกทั้งยังเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 4.2-5) และมีการตรวจสอบ ซ่อมแซม วัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องการการรั่วซึมอย่างสม่ำเสมอ  

(เอกสารหมายเลข 4.2-6) 

3. มีแผนงานและดำเนินการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น เชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี ควันบุหรี่ เป็นต้น มีการจัดพื้นที่ให้ อากาศหมุนเวียนอย่างเพียงพอและถ่ายเทโดยสะดวก มีการกำจัดฝุ่น บนชั้นหนังสืออย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการกำหนด และตรวจตราให้ ห้องสมุดเป็นเขตปลอดบุหรี่ตลอดจน มีการจัดการเพื่อควบคุมเสียง ในห้องสมุด  

ในปี 2564 ศูนย์บรรณสารสนเทศมีแผนการจัดการของเสีย และมลพิษด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 4.3-1)  โดยดำเนินการทำความสะอาด กำจัดฝุ่นละอองเป็น ประจำอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อให้การปฏิบัติงานของพนักงาน ทำความสะอาดมีความชัดเจน จึงได้มีการกำหนดหน้าที่และ ภาระงานที่รับผิดชอบ กำหนดพื้นที่การปฏิบัติงานและ ผู้ควบคุมดูแลแต่ละชั้นภายในห้องสมุด (เอกสารหมายเลข 4.3-2) มีการจัดทำป้ายรณรงค์ เรื่องการงดสูบบุหรี่ในสำนักวิทย บริการ มาอย่างต่อเนื่อง  (เอกสารหมายเลข 4.3-3)  มีการจัด กิจกรรม Big Cleaning Day (เอกสารหมายเลข 4.3-4) รวมทั้ง มี TOR การบำรุงรักษาระบบปรับอากาศอย่าง สม่ำเสมอ โดยได้ ดำเนินการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศเป็นประจำ ทุกปี โดยกองอาคารสถานที่ (เอกสารหมายเลข 4.3-5) 
และการบำรุงรักษาอุปกรณ์ เครื่องปรับอากาศให้พร้อมใช้งาน อยู่เสมอ
(เอกสารหมายเลข 4.3-6) โดยในปี 2565 ได้มีการเพิ่ม พื้นที่สีเขียวและปลูกไม้ ประดับภายในห้องสมุด (เอกสารหมาย เลข 4.3-7) และได้จัดทำบันทึกข้อความขอความอนุเคราะห์ เครื่องวัดอุณหภูมิอากาศจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำมาติดตั้งในอาคารบรรณราชนครินทร์ ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวัดค่ามลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 4.3-8) และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ดำเนินการส่งเครื่องมือ การตรวจวัดดัชนีคุณภาพอากาศมาให้ศูนย์บรรณสารสนเทศแล้ว จำนวน 1 ชุด (เอกสารหมายเลข 4.3-9)  และได้มีการติดตั้ง เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศภายในห้องสมุดศูนย์บรรณ สารสนเทศ ชั้น 1 จำนวน 1 จุด (เอกสารหมายเลข 4.3-10)   

4. มีการดำเนินการกิจกรรม 5 ส.อย่างสม่ำเสมอเพื่อจัดพื้นที่บริการและ พื้นที่สำนักงาน ให้สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการดำเนินการกิจกรรม 5 ส. ประกอบ ด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมีระเบียบวินัยภายในห้องสมุดให้มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ  (เอกสารหมายเลข 4.4-1)     สร้างความตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างประหยัด และคุ้มค่า รวมถึงการสร้างความสามัคคีและการมีน้ำใจ ภายในหน่วยงาน  โดยมีการกำหนดหน้าที่และภาระงาน ที่รับผิดชอบตามชั้นต่าง ๆ  (เอกสารหมายเลข 4.4-2) มีการตรวจสอบการปฏิบัติงานประจำวันของพนักงานทำความ สะอาดอย่างต่อเนื่อง  (เอกสารหมายเลข 4.4-3) และมีการ ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับ 5ส ให้บุคลากรรับทราบ (เอกสารหมายเลข 4.4-4) รวมทั้งการจัดกิจกรรม สร้างจิตสำนึกและการสร้างวินัย ด้วย 7ส ในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เพื่อให้บุคลากรเกิดความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติของ 7ส ได้มากขึ้น (เอกสารหมายเลข 4.4-5)

5. แผนงานและดำเนินการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะ ฉุกเฉิน เพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมระงับเหตุฉุกเฉิน เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น ตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม หรือตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้ง การดูแลอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ระงับเหตุฉุกเฉินดังกล่าว ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีความตระหนักถึงภัยของเหตุฉุกเฉินซึ่ง อาจจะเกิดขึ้นและทำให้เกิดการสูญเสียทั้งทรัพย์สิน ร่างกาย และจิตใจของผู้ใช้บริการและบุคลากร ตลอดจนภาพลักษณ์ ขององค์กร เช่น เหตุอัคคีภัย ดังนั้น จึงมีการกำหนดแผนเตรียม ความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉิน (เอกสารหมายเลข 4.5-1) ได้มีการจัดอมรมโครงการพัฒนาระบบการจัดการ สภาพแวดล้อม Green University กิจกรรมพัฒนา ห้องสมุดสีเขียว เรื่อง การดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิง และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2564  (เอกสารหมายเลข 4.5-2) รวมถึงการจัดทำป้ายทางออกฉุกเฉิน เส้นทางหนีไฟ เพื่อแจ้งให้ผู้รับบริการทราบในกรณี เกิดเหตุ ฉุกเฉิน (เอกสารหมายเลข 4.5-3) และมีเจ้าหน้าที่จาก งานอาคารเข้ามาตรวจความพร้อมการใช้งานถังดับเพลิงเป็นประจำ (เอกสารหมายเลข 4.5-4) ส่วนปี 2565 ได้มีการจัดกิจกรรมการดับเพลิงขั้นต้น และการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟในวันที่ 9 สิงหาคม 2565 (เอกสารหมายเลข 4.5-5)