หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

26 มีนาคม 2564 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2566

หมวดที่ 8 การประเมินคุณภาพห้องสมุดสีเขียว

เกณฑ์การประเมิน

การประเมินตนเอง

1. มีการประเมินประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม เช่น Energy Utilization Index (EUI)

ปีพ.ศ. 2563 ศูนย์บรรณสารสนเทศได้ดำเนินการเกิี่ยวกับ การใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสมโดยได้ดำเนินการตามแผน (เอกสารหมายเลข 8.1-1) และให้ความสำคัญในเรื่องของ การประหยัด พลังงานในพื้นที่ให้บริการ และพื้นที่ทำงานของ บุคลากร โดยในปีงบประมาณ 2564 ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดสรรงบประมาณ โดยมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า เพื่อตรวจสอบการใช้ไฟฟ้า และติดตั้งสวิตซ์ไฟกระตุก เพื่อลดปริมาณการใช้ฟฟ้าที่ไม่จำเป็นลง (เอกสารหมายเลข 8.1-2)  มีการบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าและการใช้น้ำ (เอกสารหมายเลข 8.1-3) และยังมีการประเมินประสิทธิภาพ การใช้พลังงานไฟฟ้าที่เหมาะสม (EUI) 
(เอกสารหมายเลข 8.1-4) 

2. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะ เช่น ปริมาณขยะลดลง และร้อยละของปริมาณขยะที่นำมา Reuse, Recycle เพิ่มขึ้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศได้ดำเนินเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิภาพการจัดการขยะตามแผนและมาตรการบริหารจัดการของเสีย และมลพิษ (เอกสารหมายเลข 8.2-1) สำหรับการจัดการขยะ ของศูนย์บรรณสารสนเทศเริ่มดำเนินการบันทึกการเก็บข้อมูลปริมาณการใช้ตั้งแต่  ปี พ.ศ. 2563 โดยกำหนดให้แม่บ้านที่ รับผิดชอบดูแลแต่ละพื้นที่จัดเก็บขยะที่จะต้องส่งกำจัดขยะที่ ส่งจำหน่าย ขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ แล้วนำมาชั่งน้ำหนัก
(เอกสารหมายเลข 8.2-2) และ (เอกสารหมายเลข
8.2-3)
พบว่าการคัดแยกขยะของศูนย์บรรณสารสนเทศปี พ.ศ. 2563 จำนวน 2,475.00 กิโลกรัม (เอกสารหมายเลข 8.2-4) และปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4,535.00 กิโลกรัม (เอกสารหมายเลข 8.2-5) และในปี 2565 เดือนมกราคม - พฤษภาคม จำนวน 1,229.00 กิโลกรัม
(เอกสารหมายเลข 8.2-6) รวมทั้งหมดจำนวน 6,239.00 กิโลกรัม 

3. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสีย

เนื่องจากอาคารศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นอาคารเก่า ไม่มีท่อ บำบัดน้ำเสีย ทางศูนย์บรรณสารสนเทศจึงไม่ได้ดำเนินการใน เรื่องดังกล่าว แต่ได้มีการดำเนินการคัดแยกเศษอาหารก่อน ล้างจาน และมีการติดตะแกรงรองซิงค์ล้างจาน เพื่อแยกเศษอาหารก่อนปล่อยน้ำลงท่อ (เอกสารหมายเลข 8.3-1) 

4. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางอากาศ เช่น ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากผู้รับบริการเกี่ยวกับสภาพอากาศและสภาพแวด ล้อมภายในอาคาร จำนวนครั้งของการล้างระบบปรับอากาศต่อปี เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีการจัดการของเสียและมลพิษด้านการ จัดการมลพิษทางอากาศและแผนการบำรุงรักษาระบบปรับ อากาศ (เอกสารหมายเลข 8.4-1)  มีการติดตามผลการดูแลรักษา โดยได้ดำเนินการล้างทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศปีละ 2 ครั้ง (เอกสารหมายเลข 8.4-2) (เอกสารหมายเลข 8.4-3)และได้มีการจัดกิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายในห้องสมุด(เอกสารหมายเลข 8.4-4) (เอกสารหมายเลข 8.4-5) (เอกสารหมายเลข 8.4-6) และมีการรณรงค์เขตปลอด บุหรี่ภายในพื้นที่ให้บริการ (เอกสารหมายเลข 8.4-7) และได้จัด ทำบันทึกข้อความ (เอกสารหมายเลข 8.4-8)ขอความอนุเคราะห์ เครื่องวัดอุณหภูมิอากาศจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ นำมาติดตั้ง ในอาคารศูนย์บรรณสารสนเทศเพื่อใช้ในการวัดค่ามลพิษทางอากาศ (เอกสารหมายเลข 8.4-9)

5. มีการประเมินประสิทธิภาพการจัดการก๊าซเรือนกระจก เช่น ร้อยละของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ค่าคาร์บอนฟุตพริ้นองค์กรต่อจำนวนผู้มารับบริการ เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีแผนการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก (เอกสารหมายเลข 8.5-1) ได้กำหนดแผนการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกประจำปีงบประมาณ 2564 และ 2565
(เอกสารหมายเลข 8.5-2) (เอกสารหมายเลข 8.5-3) และมีการรายงานผลการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาคารนรรณราชนครินทร์ ปี พ.ศ. 2564 และ 2565 (เอกสารหมายเลข 8.5-4) (เอกสารหมายเลข 8.5-5) นอกจากนี้ยังได้มีการเข้าร่วม อบรมในหัวข้อ “ห้องสมุดสีเขียว กิจกรรมอบรมคาร์บอน”ในปี 2564 (เอกสารหมายเลข 8.5-6) และปี 2565 ได้เข้าร่วมเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง “การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและ ความท้าทาย”(เอกสารหมายเลข 8.5-7)

6. มีประเมินผลสัมฤทธิ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน พลังงานและสิ่งแวดล้อม เช่น ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมที่ ผ่านการทดสอบความรู้ หรือ ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่าน การทดสอบความรู้ เป็นต้น

ศูนย์บรรณสารสนเทศได้มีการจัดกิจกรรมโครงการพัฒนา นักศึกษา กิจกรรมการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ ออนไลน์ รูปแบบกิจกรรมแบ่งออกเป็น 5 ครั้งต่อปีงบประมาณ จัดครั้งละ 3 ชั่วโมงหมุนเวียนกันไปตามแต่ละหลักสูตรและคณะ บรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินจัดกิจกรรมดังกล่าวและไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตลอดการจัดอบรม (เอกสารหมายเลข 8.6-1) (เอกสารหมายเลข 8.6-2) และยังมีการจัดโครงการพัฒนาการ จัดการ ระบบสภาพแวดล้อม Green University กิจกรรมอบรม ในหัวข้อ “การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม (เอกสารหมายเลข 8.6-3) อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนา ห้องสมุดสีเขียว เรื่องการดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อม ดับเพลิง และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ (เอกสารหมายเลข 8.6-4)

ใน พ.ศ. 2565 ได้เข้าร่วมอบรม หัวข้อ “ความท้าทายของ ห้องสมุด สู่ความยั่งยืน และ Carbon Neutrality (เอกสารหมายเลข 8.6-5) รวมถึงร่วมเสวนาถึงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาห้องสมุดสีเขียว : บทเรียนและความท้าทาย (เอกสารหมายเลข 8.6-6) และเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ การจัดการขยะช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างไร (เอกสารหมายเลข 8.6-7) อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรม สร้างสรรค์ กุหลาบหอมจากใบเตย ร่วมกับอุทยานการเรียนรู้ TK Park ยะลา (เอกสารหมายเลข 8.6-8)