หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

22 กุมภาพันธ์ 2567 (ผู้ดูแลระบบ) ผลการดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดสีเขียว 2567
        ห้องสมุดสีเขียวจะต้องทำการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ และสร้างจิตสำนึกเรื่องการอนุรักษ์พลังงาน การ อนุรักษ์ทรัพยากร และการรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับบุคลากร ผู้รับบริการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในการให้บริการ ห้องสมุดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังนี้
        2.1. มีการอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
        2.2. มีการรณรงค์และประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

หัวข้อ ผลการดำเนินงาน ไฟล์หลักฐาน
2.1.1 กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และ บันทึกประวัติการฝึกอบรม
        (1) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรม ลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตร ครอบคลุมเนื้อหามีรายละเอียด อย่างน้อยดังนี้
             - ความสำคัญของห้องสมุดสีเขียว
             - การบริหารจัดการห้องสมุดสีเขียว และการลดปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจก
             - การให้บริการที่มีคุณภาพและเป็น มิตรกับสิ่งแวดล้อม
             - การจัดหาและการให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง กับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
         (2) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการ ฝึกอบรมในข้อ (1) โดยผู้รับการ อบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
         (3) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบ หรือการประเมินขณะ ปฏิบัติงาน เป็นต้น
         (4) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร
   
2.1.2 กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการ อบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
        (1) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี ความรู้ในเนื้อหาการอบรม
        (2) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมี หลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ประวัติ หรือประสบการ ณ์ที่ เกี่ยวข้อง
   
2.2.1 มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและ แนวทางสื่อสารเรื่องห้องสมุดสีเขียว
        (1) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
             1. หัวข้อ  นโยบาย ห้องสมุดสีเขียว และสำนักงานสีเขียว  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             2. หัวข้อ  ทรัพยากร สารสนเทศด้าน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             3. หัวข้อ  ความรู้ด้าน ทรัพยากรและ สิ่งแวดล้อมและ เรื่องที่เกี่ยวข้อง  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             4. หัวข้อ  กิจกรรมห้องสมุดสีเขียว  ความถี่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
             5. หัวข้อ  กิจกรรมเครือข่ายความร่วมมือ  ความถี่  ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
        (2) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มี ประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหัวข้อ การสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัด จำนวนช่องทาง)
        (3) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร
        (4) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำแผนการสื่อด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมประจำปี 2567 โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโนจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา จำนวน 9 หัวข้อ และได้กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสาร ดังนี้ (2.2.1-1)
             ๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม
             ๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ
             ๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย
             ๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.)
             ๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่น้ำ ไฟฟ้า น้ามันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ)
             ๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย
             ๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย
             ๘. สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
             ๙. ก๊าซเรือนกระจก

           สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดช่องทางการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงานที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร ได้แก่ (2.2.1-2)

             1. ประชุมชี้แจง
             2. เว็บไซต์GreenOffice
             3. กลุ่มFacebook ARIT Staff
             4. messenger greenlib
             5. morningtalk
             6. จออิเล็กทรอนิกส์
             7. บอร์ดประชาสัมพันธ์ 
             8. Facebookสำนักฯ
             9. เว็บไซต์GreenOffice
             10. Line@ บุคลากรมหาวิทยาลัย

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน ให้เกิดการรับรู้และรับทราบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ (2.2.1-3)

              1. กลุ่มเป้าหมาย ภายใน คือ ผู้บริหารและบุคลากรสำนักฯ

              2. กลุ่มเป้าหมาย ภายนอก คือ ผู้ใช้บริการห้องสมุด (นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มรภ.พบ. ศิษย์เก่าและบุคคลภายนอก)

          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร/รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นางสาวแขนภา ทองตัน นักวิชาการคอมพิวเตอร์  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ..... เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๗ (2.2.1-4)

          

 
2.2.2  มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ ตามที่กำหนดในข้อ 2.2.1
  สำนักวิทยบริการฯ มีการจัดทำสื่อด้านสิ่งแวดล้อมและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน โดยมีผู้รับผิดชอบคือ นายวิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา เพื่อการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนธันวาคม 2567 จำนวน ... ชิ้นงาน (2.2.2-1.1) แยกเป็นประเภทต่างๆดังนี้
          - ประเภทสื่อวีดีทัศน์สิ่งแวดล้อม ...  ชิ้นงาน (2.2.2-1.2)
          - ประเภทสื่อPoster/Infographic   ...ชิ้นงาน (2.2.2-1.3)
 
2.2.3 ร้อยละความเข้าใจนโยบายและ การดำเนินงานห้องสมุดสีเขียว (สุ่ม อย่างน้อย 4 คน) โดยจะต้องสอบถาม บุคลากรแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ 2.2.1 (1)
สำนักวิทยบริการฯ สร้างความเข้าใจในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยได้ประกาศนโยบายการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับบุคลากรสำนักวิทยบริการฯ จำนวน 24 คน คิดเป็น ร้อยละ 100 เรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว  ตามช่องทางต่างๆต่อไปนี้
        1. ห้องประชุมภายในสำนักงานผู้อำนวยการ (2.2.3-1)
        2. เว็บไซต์ Green office & Green library (2.2.3-2)
        3. เพจ facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2.2.3-3)
        4. มุมพลังงานและสิ่งแวดล้อม (2.2.3-4)      
        5. ช่องทางสนทนากลุ่ม messenger: Lib pbru Staff , Green Lib, Arit Staff สำหรับการสื่อสารภายในหน่วยงานเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (2.2.3-5)
 
2.2.4 มีช่องทางรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว และนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยต้องมีแนวทาง ดังนี้
        (1) มีช่องทางเพื่อรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว เช่น ไลน์ เว็บไซต์เฟสบุ๊ค อีเมล์ กล่องรับความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากการประชุม
        (2) มีผู้รับผิดชอบในการรับ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น
        (3) มีการแสดง ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น ด้านห้องสมุดสีเขียว
        (4) มีการรายงานผลการปรับปรุงจาก ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น และเสนอต่อผู้บริหาร
 
คำอธิบาย
        1. การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีความเป็นไปได้อย่างมากที่ในระหว่างที่ดำเนินการจะมีการให้ ข้อเสนอแนะ / ข้อคิดเห็น หรือข้อร้องเรียนจากบุคลากรทั้งภายในหรือภายนอกองค์กร เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง
        2. ข้อเสนอแนะสามารถมาได้จากการประชุม การหารือ ทั้งที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการก็ได้ แต่จะต้องมีหลักฐานข้อเสนอแนะรองรับ เช่น รายงานการประชุม หรือข้อเสนอแนะผ่าน Social media เป็นต้น
สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไลน์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 5 ช่องทาง ได้แก่
         รูปแบบออนไลน์ ได้แก่
             - หน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการฯ https://arit.pbru.ac.th/webarit/ และสายตรงผู้บริหาร(2.2.4-1.1 แขนภา ทองตัน)
             - เพจ Facebook : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (แขนภา ทองตัน)
             - Line @ : @944tkcpj (2.2.4-1.3 แขนภา ทองตัน) 
             - Facebook : Lib Pbru (2.2.4-1.4 แขนภา ทองตัน)
             - e mail : [email protected] (2.2.4-1.5 แขนภา ทองตัน)      
             - ช่องทาง รับข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมด้วย QR Code โดยใช้ Google Form (2.2.4-1.6 แขนภา ทองตัน)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้จัดทำช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมในรูปแบบออนไซต์จากผู้รับบริการ และนำมาปรับปรุงแก้ไข 2 จุด  ได้แก่
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนทรัพยากร ชั้น 1(2.2.4-2.1. ธนพร ถมเสาร)
             - กล่องรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ติดตั้งอยู่ที่เคาน์เตอร์บริการยืม - คืนวารสารและหนังสือพิมพ์ ชั้น 2 (2.2.4-2.2 สุพรรณี เพนวิมล)
          สำนักวิทยบริการฯ ได้กำหนดผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น คือ นางสาวสิริรัตน์ เดชเพชร นักวิชาการศึกษา (2.2.4-3.1)  ตามคำสั่งสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ ... เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว ประจำปี ๒๕๖๗
           สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จัดทำ Flowchart แนวทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข มีช่องทางการรับข้อเสนอแนะ (2.2.4-4.1) ในปี 2567 ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของ สำนักวิทบบริการฯ ไม่พบข้อร้องเรียนหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม